ฟังดูก็ค่อนข้างจะดี แล้วทำไมนักวิชาการไทยจึงตั้งแง่ตั้งงอน รังเกียจ กระแนะกระแหนว่า เป็นประชาวิบัติบ้างละ หรือพยากรณ์มองไกลไปอนาคตว่า ประเทศล้มละลายแน่ๆถ้ายังเดินหน้าประชานิยม
ประชานิยม ซึ่ง ไม่ใช่ประชาวิบัติ เป็นแนวการจัดการนโยบายสาธารณะของพรรคการเมือง โดยมุ่งสร้างและผลักดันนโยบายที่เสนอประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยไม่คำนึงถึงขีดความสามารถงบประมาณ หรือ ผลเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอนาคต ขอเพียงสักแต่ว่าให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง ให้ได้มาซึ่งคะแนนนิยมเป็นพอ
นโยบายประชานิยม จึงเป็นนโยบายที่ต้องใช้เงินใช้ทองมหาศาล เสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์เฉพาะหน้า ให้ดูว่าจะได้อะไรที่จับต้องได้ เป็นชิ้นเป็นอันแก่ประชาชนผู้เป็นของสิทธิ์ พรรคการเมืองแรกพอนำไปใช้ได้ผล ก็จะมีพรรคการเมืองอื่นเดินตามรอย แต่ต้องแข่งกันให้มากกว่า มากขึ้นเรื่อยๆไป เข้าทำนอง เกทับบลัฟแหลก หรือ จนยังไม่เจียมงั้นแหละ
เรื่องราวนี้ หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง แต่เข้ากับบรรยากาศประชานิยมได้ดี เลยนำมาเล่าให้ฟังอีกที
ในการบินตรวจเยี่ยมประชาชน ของนักการเมือง 4 คน ประกอบด้วยผู้เป็นหัวหน้าพรรค นามสมมติ ท. และลูกพรรค นามสมมติ ฉ จ และ ณ
หัวหน้า ท. ต้องการทดสอบไหวพริบของลูกพรรค ว่าใครจะมีไหวพริบในนโยบายประชานิยมได้ดีกว่ากัน จึงหยิบแบงค์พันบาทหนึ่งใบออกมาจากกระเป๋าแล้วกล่าวขึ้นว่า “คุณดูเงินในมือผม ผมอยากรู้ว่าพวกคุณทั้งสาม จะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้คนที่อยู่ข้างล่างเกิดความพอใจสูงสุด”
ลูกพรรค ฉ. บอก “ไม่เห็นยากเลย ก็โยนเงินลงไป คนที่เก็บได้ย่อมชื่นชมว่า เราเป็นรัฐบาลที่เห็นใจประชาชน”
ณ. บอก “เป็นผม ผมจะเปลี่ยนแบงค์พัน เป็นแบงค์ร้อยสิบใบ โยนลงไป จะทำให้คนพอใจเพิ่มเป็นสิบคน”
จ. แสดงความเห็นบ้าง “ผมว่าเราควรเปลี่ยนเป็นแบงค์ยี่สิบ จะได้แบงค์ยี่สิบ ถึงห้าสิบใบ เมื่อโปรยลงไปจะสามารถสร้างความพอใจให้ชาวบ้านถึง 50 คน”
นักบินซึ่งสังกัดกองทัพไทย และไม่เกี่ยวอะไรกับบิ๊กบัง ได้ยินคำสนทนาของ 4 นักการเมือง ก็เลยพูดกับนักบินผู้ช่วยว่า “คุณรู้ไหมว่า ผมมีวิธีการทำให้คนทั้งประเทศพอใจ แค่จับเจ้าสี่คนนี้โยนลงไปข้างล่าง รับรองว่าคนทั้งประเทศดีใจแน่”
อันล่างนี้ถูกใจมากเลยค่ะ อิอิอิอิ